5 สมุนไพร พื้นบ้านช่วยต้านทานโควิด -19

5 สมุนไพร พื้นบ้านช่วยต้านทานโควิด -19

“สมุนไพร” ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย มีการใช้กันมายาวนานนับพันปีเป็นภูมิปัญญารุ่นต่อรุ่น ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยต่อยอดจนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว และมีการพูดถึงจุดแข็งที่สามารถจะต่อยอดไปสู่ความมั่นคงด้านการดูแลสุขภาพสามารถดึงนักท่องเที่ยวที่รักสุขภาพจากต่างประเทศให้เข้ามาในประเทศไทย

ล่าสุด ได้พัฒนาสมุนไพรในประเทศไทย เพื่อเตรียมการรองรับการแพร่ระบาดของ โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ที่ไม่มีใครคาดเดาได้ โดยหยิบยก  สมุนไพรที่จะมีการศึกษาวิจัยต่อยอดได้แก่ ฟ้าทะลายโจร กระชาย ขมิ้นชัน ขิง มะขามป้อม กระเทียม  

ลองมาดูกันว่า  สมุนไพร ที่ว่านั้น มีอะไรบ้าง

1.ฟ้าทะลายโจร มีการศึกษาวิจัยกันอย่างแพร่หลาย ทั้ง จีน สิงคโปร์ รวมถึงประเทศไทย และได้มีการนำเสนอผ่านสื่ออย่างต่อเนื่อง โดยงานวิจัยที่ได้รับการรับรองแล้วพบว่า กลไกต้านไวรัสของฟ้าทะลายโจรป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์, ลดการแบ่งตัวไวรัสภายในเซลล์, เพิ่มภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับไวรัส, ลดการอักเสบที่ปอดจากการติดเชื้อไวรัส

2.ขิง ซึ่งมีรสเผ็ดร้อน พบฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยการใช้พื้นบ้านนำมากินแก้หวัด จากการจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่า สารสำคัญ Gingerol และ Gingerol สามารถแย่งจับกับตำแหน่ง main protease ของcoronavirus ที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ได้

3. มะขามป้อม เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ พื้นบ้านใช้รักษาหลอดลมอักเสบ วัณโรคปอด หอบหืด ช่วยส่งเสริมการทำงานของ ระบบภูมิคุ้มกัน โดยสาร Phyllanthus และ Chebulagic acid มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ จากการจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่า สาร Phyllanemblinin G7 มีความสามารถในการจับกับขาโปรตีน และตัวรับ ACE2 ในการผ่านเข้าเซลล์ปอดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 โดยสามารถยับยั้งการสร้างและการแบ่งตัวของเชื้อซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการเพิ่มจำนวนของไวรัส

4.ขมิ้นชัน จากการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่า มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ในการป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าเซลล์ ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส และช่วยยับยั้งการหลั่งสารอักเสบ ในส่วนของการศึกษาในหนูทดลองพบว่า ขมิ้นชัน ช่วยลดการอักเสบของปอดที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้จากการจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่า สารสำคัญของขมิ้นชัน และ demethoxycurcumine สามารถแย่งจับกับตำแหน่งของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ที่มีผลยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้

5.กระเทียม

กระเทียมมีฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน สาร allicin ในกระเทียม มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ป้องกันการหลั่งสาร cytokine ที่ทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มแอนติบอดี้ ชนิด immunoglobulin A (IgA) ซึ่งเป็นด่านแรกของภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยพบมากที่ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ตามเยื่อเมือกต่างๆ และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของ B-cell lymphocyte รวมทั้งกระตุ้นการหลั่งของสาร interferon ซึ่งเป็นสารที่สร้างในระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต้านไวรัส จากการจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่า สารสำคัญ quercetin และ allicin ที่พบสามารถแย่งจับกับตำแหน่ง main protease ที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019

 

 

อ้างอิง      : Potential Inhibitor of COVID-19 Main Protease (Mpro) from Several Medicinal Plant Compounds by Molecular Docking Study(13 march 2020)

: A rational drug designing: What bioinformatics approach tells about the wisdom of practicing traditional medicines for screening the potential of Ayurvedic and natural compounds for their inhibitory effect against COVID-19 Spike, Indian strain Spike, Papain-like protease and Main Protease protein