ขิง พุทราจีน เห็ดหูหนูดำ

ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มที่จะป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งหนึ่งในสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่เน้นรสชาติเป็นหลัก หรือในช่วงเวลาที่เร่งรีบกับการทำงาน จึงเน้นเลือกอาหารที่หาทานได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว เช่นอาหารทอด ปิ้ง ย่าง หรืออาหารสำเร็จรูป ซึ่งเป็นอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานอาหารประเภทนี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดไขมันสะสมในร่างกาย หรือไขมันเกาะตามหลอดเลือด รวมทั้งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการเลือกรับประทานสมุนไพรที่มีส่วนช่วยในการดูแลระบบการไหลเวียนของเลือด ได้แก่

  • ขิง เป็นยาร้อน ช่วยลดไขมันในเลือดและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด 
  • เห็ดหูหนูดำ เป็นยาสุขุม ลดความดันโลหิตสูงหรือเส้นเลือดแข็งตัว และมีส่วนช่วยฟอกเลือด 
  • พุทราจีน เป็นยาเย็น ลดการอุดตันของเส้นเลือด บำรุงไต เพิ่มภูมิต้านทานโรค บำรุงสมองและประสาท

 

สามารถนำสมุนไพรทั้ง 3 ตัวนี้มาต้มดื่มระหว่างวัน ซึ่งจะได้ทั้งความผ่อนคลาย และประโยชน์จากสมุนไพร  แต่ในสภาวะที่เร่งรีบ การหาสมุนไพรแล้วนำมาต้ม อาจมีความยุ่งยากในการเตรียม จึงควรเลือกผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปพร้อมชงดื่มแทนควรพิจารณาเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากโรงงานที่มีมาตรฐานการผลิตที่ดี (GMP) ได้รับอนุญาตจาก อย. มีการฉายรังสีเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ไม่มีการเติมน้ำตาล แต่งกลิ่น และสีสังเคราะห์

ดังนั้นการเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีส่วนช่วยในเรื่องการไหลเวียนโลหิต ลดคอเรสเตอรอลใน กระแสเลือด บำรุงเลือด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะสามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองได้

 

งานวิจัย

  • การรับประทานสารสกัดขิงทำให้ระดับของ Cholesterol, Triglyceride, Low density lipoproteins (LDL) ลดลง และ ระดับของ High density lipoproteins (HDL) เพิ่มขึ้น จึงอาจช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจ

เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดขิงต่อค่าไขมันในเลือด (Lipid profile) ในหนูทดลองสองกลุ่มคือ กลุ่มที่รับประทานอาหารไขมันสูง และกลุ่มที่รับประทานอาหารไขมันสูง พร้อมกับสารสกัดขิง 200 mg/kg

               

  • การรับประทานพุทราจีนทำให้ระดับของ Total cholesterol, Triglyceride, LDL ลดลง รวมทั้งเพิ่มระดับของ HDL

 

ทดสอบประสิทธิภาพของพุทราจีนที่มีผลต่อค่าไขมันในเลือด (Lipid Profile) ในประชากร 83 คน โดยเปรียบเทียบค่าไขมันในเลือดก่อนและหลังรับประทานพุทราจีน 30 g/day เป็นเวลา 30 วัน

               

  • การรับประทานเห็ดหูหนู ทำให้ระดับของ Triglyceride และ LDL ลดลง รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ

n กลุ่มที่รับประทานอาหารไขมันสูงกลุ่มที่รับประทานอาหารไขมันสูง พร้อมสารสกัดเห็ดหูหนู

เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดเห็ดหูหนูต่อค่าไขมันในเลือดในหนูทดลองสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับประทานอาหารไขมันสูง และกลุ่มที่รับประทานอาหารไขมันสูง พร้อมสารสกัดเห็ดหูหนู เป็นเวลา 8 สัปดาห์

               

เอกสารอ้างอิง

  1. Ambrose et al., 2015, The Effects of Crude Extracts of Ginger (Zingiber officinale) On Some Lipid Profile Parameters In High Fat Fed Rats
  2. Usama et al., 2013, Effect of Zizyphus jujuba on serum lipid profile and some anthropometric measurements
  3. Chen et al., 2008, Effect of Polysaccharide from Auricularia auricula on Blood Lipid Metabolism and Lipoprotein Lipase Activity of ICR Mice Fed a Cholesterol-Enriched Diet
  4. https://www.dailynews.co.th/politics/656077, แนะกินขิง-พุทราจีน-เห็ดหูหนูดำลดความเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือด, เข้าถึงเมื่อวันที่ 03/02/2563
  5. https://www.winnews.tv/news/8803, ทึ่ง แพทย์เชียงใหม่-รามใช้ ‘ขิง พุทราจีน เห็ดหูหนู’ ช่วยรักษาเส้นเลือดสมองตีบได้ เข้าถึงเมื่อวันที่ 03/02/2563­

 

#Thaiherb #นฤมิต #เครื่องดื่มสมุนไพร #ชาสมุนไพร #ขิง #พุทธาจีน #เห็ดหูหนูดำ