office syndrome โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

 OFFICE SYNDROME

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

          ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวม

ถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูก

กดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ

โดยมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดกลุ่มอาการดังกล่าว ได้แก่

     1.ท่าทางการทำงาน (Poster) เช่น ลักษณะท่านั่งทำงาน การวางมือ ศอก บนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง

     2.การบาดเจ็บจากงานซ้ำๆ(Cumulative Trauma Disorders) หรือระยะเวลาในการทำงานที่มากเกินไป ทำให้ร่างกาย

เกิดการล้า เช่น การใช้ข้อมือซ้ำ ๆ ในการใช้เมาส์ อาจทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นบริเวณข้อมือ หรือพังผืดเส้น

ประสาทบริเวณข้อมือได้

     3.สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงสว่างในห้องทำงาน

อาการของออฟฟิศซินโดรม ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

     1.อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) โดยเฉพาะปวดบริเวณคอ บ่า สะบัก ซึ่งบาง

ครั้งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการของระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย เช่น วูบ เหงื่อออก ตาพร่า หูอื้อ มึนงง ชา  เป็นต้น

     2.การอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ เช่น การอักเสบของเอ็นโค่นนิ้วโป้ง (De Quervain’s Disease) นิ้วล็อค (Trigger Finger)

     3.การกดทับปลายประสาท ทำให้เกิดอาการชา รวมถึงอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ถ้าหากรุนแรง (Nerve Entrapment) เช่น พังผืดทบเส้นประสาทข้อมือ (Carpel Tunnel Syndrome) พังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อศอก (Cubital Tunnel Syndrome)

Checklist ประเมินโอกาสเสี่ยงเป็น ออฟฟิศซินโดรม

  1. คุณเป็นคนที่นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน
  2. ระหว่างทำงาน คุณมักจะรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ หลัง เอว อยู่เสมอ
  3. ระหว่างทำงาน คุณรู้สึกปวดเมื่อยจนบางครั้งต้องกินยาแก้ปวด หรือไปนวดเพื่อให้หายปวด
  4. คุณรู้สึกตาพร่ามัว หัวตื้อ อ่านหน้าจอไม่ชัด ระหว่างทำงานเป็นบางครั้ง

หากคำตอบของคุณส่วนใหญ่คือใช่ นั่นหมายความว่าคุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นออฟฟิศซินโดรม

วิธีการป้องกัน
 

ออฟฟิศซินโดรม

ถึงแม้ว่าออฟฟิศซินโดรมจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยกับคนวัยทำงานยุคปัจจุบัน จากลักษณะของงานที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน แต่ก็สามารถป้องกันได้เช่นกัน ดังนี้


              1.ออกกำลังกายหรือยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ เช่น ยืดกล้ามเนื้อระหว่างทำงาน เล่นโยคะ เป็นต้น

              2.ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม โดยเฉพาะพื้นที่ทำงานของคุณ โดย จอคอมพิวเตอร์แนว

ตรงกับ     หน้า และอยู่เหนือกว่าระดับสายตาเล็กน้อย และตั้งห่างเท่ากับความยาวแขน ปรับเก้าอี้ให้เท้าสามารถ

วางพื้นได้พอดี

             3.แป้นพิมพ์ทำมุม 90 องศากับระดับข้อศอก

             4.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน คอยยืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างทำงาน คอยเปลี่ยนอริยาบถเพื่อให้

กล้ามเนื้อได้ ผ่อนคลาย

             5.หากจำเป็นต้องทำงานที่หน้าจอ Computer นาน ๆ ควรพักสายตาอย่างน้อยทุก ๆ 10 นาที

             6.เข้ารับการทำกายภาพบำบัด ฝังเข็ม หรือนวด เพื่อลดความเสี่ยง และลดอาการออฟฟิศซินโดรม

            7. ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ 

          แม้ว่าออฟฟิศซินโดรมจะไม่ใช่โรคหรือการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง แต่หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือการรักษาที่ถูก

ต้องอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งกระทบต่อประสิทธิภาพและความสุขในการทำงานได้ ดังนั้นจึงควรรีบเข้า

มาปรึกษาแพทย์โดยด่วน