โพรไบโอติก เลือกอย่างไรให้เหมาะกับร่างกาย
โพรไบโอติกส์ นอกจากจะเจอได้ในอาหารเช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ของหมักดองต่างๆ แล้ว การรับประทานอาหารในแต่ละวันบางครั้งอาจไม่ได้จำนวนโพรไบโอติกส์ตามที่ร่างกายต้องการ เรายังสามารถรับประทานได้จากอาหารเสริมโพรไบโอติกส์อีกด้วย
จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ในร่างกายของเราไม่ได้มีเพียงชนิดเดียว แต่มีอยู่หลากหลายประเภท ซึ่งล้วนส่งผลดีต่อร่างกายแตกต่างกันไป ประเภทของโพรไบโอติกส์ มีดังนี้
1. แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus)
แลคโตบาซิลลัส พบมากที่สุดในกลุ่มโพรไบโอติกส์ แบคทีเรียแลคโตลาซิลลัสเป็นกลุ่มเชื้อแบคทีเรียที่เกาะติดลำไส้ มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้ อาหารที่พบแลคโตบาซิลลัส เช่น อาหารหมักดอง โยเกิร์ต นมเปรี้ยว
2. แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces Boulardii)
แซคคาโรไมซิสเป็นยีสต์ที่พบได้ในกลุ่มโพรไบโอติกส์ ไม่มีอยู่ในร่างกายของมนุษย์ตามธรรมชาติ แซคคาโรไมซิสช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย และบรรเทาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับด้านทางเดินอาหาร
3. บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium)
บิฟิโดแบคทีเรียมเป็นหนึ่งในจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่เรียกกันได้ว่าดีที่สุด เพราะช่วยบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน จากงานวิจัยพบว่าโพรไบโอติกส์ชนิดนี้ช่วยผลิตสารตั้งต้นของภูมิต้านทานในร่างกายได้ บิฟิโดแบคทีเรียมพบได้ในอาหารประเภทนม
4.บาซิลัส โคแอกกูแลน ( Bacillus Coagulans)
เป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยลดอาการอุจาระร่วง ป้องกันโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อ E. coli ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุๆ ในลำไส้ ทนต่ออุณหภูมิสูง ความเป็นกรดด่าง และสารคัดหลั่งในระบบทางเดินอาหารได้ดี
5. จุลินทรีย์โพรไบโอติกประเภทอื่น
ทั้งนี้ยังมีโพรไบโอติกส์ชนิดอื่น ๆ ที่ใช้ทางด้านการแพทย์อีกด้วย เช่น Enterogermina – Bacillus clausii, Bacillus subtilis, Longum, B. Breve, B.infantis, Streptococcus thermophilus เป็นต้น
ปริมาณโพรไบโอติกส์ที่ควรรับประทานต่อวันคือ ตั้งแต่ 10-20 พันล้านตัวต่อวัน หรืออย่างต่ำ 10,000 ล้าน CFU โดย CFU คือ หน่วยที่ใช้ตรวจปริมาณจุลินทรีย์ที่อยู่ในสินค้าและอาหารไม่ว่าจะเป็น นมเปรี้ยว หรือ อาหารเสริม
การรับประทานโพรไบโอติกส์มากเกินความจำเป็นต่อร่างกายในแต่ละวัน อาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ ผลข้างเคียงของการรับประทานโพรไบโอติกส์มากเกินไป เช่น
- เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
- เกิดผื่นคันตามผิวหนัง
- เกิดอาการปวดหัว จากสารเอมีน (Amines)
- เกิดอาการต้านยาปฎิชีวนะ
- เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ
หากรับประทานโพรไบโอติกส์แล้วมีอาการ หรือปฏิกริยา ควรหยุดรับประทานทันที และควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอาการต่อไป
ครั้งแรกของการนำสมุนไพรและโพรไบโอติกมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ซินไบโอติก
ซินไบโอติก (SYNBIOTICS) คือ
Synbiotics คือ การนำโปรไบโอติก (Probiotics) ที่เป็นจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้ และพรีไบโอติก (Prebiotics) ซึ่งเป็นแหล่งใยอาหารของ Probiotics ผสานเข้าด้วยกันจึงช่วยเสริมฤทธิ์ ทำให้การทำงานของ Probiotics เพิ่มขึ้นนั่นเอง เมื่อรวมโปรไบโอติกและพรีไบโอติกไว้ในผลิตภัณฑ์อาหารเดียวกัน เราเรียกผลิตภัณฑ์นั้นว่าผลิตภัณฑ์ ที่มี “ซินไบโอติก (Synbiotics)” ซึ่งหมายความว่าหากใส่แต่โปรไบโอติก จะไม่สามารถเรียกว่าสูตรซินไบโอติกได้ ต้องมีการผสานเข้ากับพรีไบโอติกด้วย
“CurcuminPro” โดยได้เลือกโพรไบโอติกมา 2 ชนิด มาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ซินไบโอติก คือ
Bifidobacterium animalis และ Bacillus Coagulans
มีส่วนช่วยในการรักษาระบบทางเดินอาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ และทำให้ลำไส้ทำงานได้อย่างปกติลดอาการท้องเสียได้ง่าย อาการขับถ่ายลำบาก และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ นอกจากนี้ยังใช้แคปซูลชนิดพิเศษที่ผลิตจากพืช ทนทานต่อกรดในกระเพาะ นำจุลินทรีย์ไปปลดปล่อยสารบริเวณลำไส้ เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่หวังผลในการรักษาที่ลำไส้โดยเฉพาะ
นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของขมิ้นชัน ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้รักษาโรคและส่งเสริมสุขภาพของคนไทยมาอย่างยาวนานโดยเฉพาะ อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารไม่ว่าจะเป็นอาการท้องอืดท้องเฟ้อ หรือการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และช่วยต้านการอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระป้องกันร่างกายไม่ให้เสื่อมไปตามวัย
ดังนั้น CurcuminPro จะช่วยในเรื่องของ ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในร่างกาย ปรับสมดุลระบบขับถ่าย ป้องกันบรรเทาโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการลำไส้แปรปรวน (IBS) ท้องผูกท้องร่วงอันเกิดจากการรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยในการดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
ผลิตภัณฑ์ถูกผลิตภายในโรงงานที่ได้รับมาตรฐาน PIC/S GMP, ISO 9001, ISO14001 และมุ่งมั่นเข้าสู่ ISO 17025 และตัวของผลิตภัณฑ์เองก็ได้นับรางวัล “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรดีเด่นระดับชาติปี 2564” จากกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข ทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ “CurcuminPro” เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกทางสุขภาพที่ดี ได้มาตรฐาน และปลอดภัยกับผู้บริโภค
เรียบเรียงโดย พท.ภ.จิราภา ทองพึ่งสุข
แหล่งข้อมูล
1.Amara, A. A., & Shibl, A. (2015). Role of probiotics in health improvement, infection control and
disease treatment and management. Saudi Pharmaceutical Journal, 23(2), 107–114.
https://doi.org/10.1016/j.jsps.2013.07.001
2.Katherine Zeratsky, R. D. (2022, July 2). Probiotics and Prebiotics: What you should know. Mayo
Clinic. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy
-eating/expert-answers/probiotics/faq-20058065
3.Probiotics: What is it, benefits, side effects, food & types. Cleveland Clinic. (n.d.).
https://my.clevelandclinic.org/health/articles/14598-probiotics
4.โรงพยาบาลสมิติเวช, บทความสุขภาพ. ‘โพรไบโอติกส์’ เสริมภูมิคุ้มกัน แนะนำอาหารโพรไบโอติกสูงที่ควร
ทาน. เข้าถึงได้จาก https://www.samitivejchinatown.com/th/health-article/probiotics