มีการศึกษาพบว่า เมื่อความรู้สึกร้อนวูบวาบเกิดขึ้น หัวใจจะเต้นถี่ หลอดเลือดบริเวณผิวหนังจะขยาย ทำให้รู้สึกร้อนวูบวาบบริเวณผิวหนัง และอาจร้อนจนถึงขั้นเหงื่อออก ซึ่งเมื่อเหงื่อออกแล้วจะรู้สึกตัวเย็นลงและสบายขึ้น ไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้ว่าความรู้สึกร้อนวูบวาบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
อาการเหล่านี้จะพบได้บ่อยในสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน หรือวัยหมดประจำเดือนที่เรียกว่าอาการวัยทอง แต่มักจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ แต่ความรู้สึกร้อนวูบวาบไม่ได้เกิดกับผู้หญิงทุกคนที่หมดประจำเดือน
ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบได้ เช่น
1.การรับประทานยาร่วมกันหลายชนิด เช่น ยาโอปิออยด์ ยาต้านซึมเศร้า ยาที่ช่วยรักษาโรคกระดูกพรุน ถ้าหากรับประทานร่วมกันอาจจะทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบได้
2.มีน้ำหนักมากเกินไป น้ำหนักที่มากเกินไป จะไปรบกวนกระบวนการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ให้ทำงานมากขึ้น ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบได้
3.แพ้อาหาร รวมทั้งสารหรือเครื่องปรุงบางอย่างในอาหาร เมื่อรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบได้
4.ความวิตกกังวล ในขณะที่เกิดความวิตกกังวล หัวใจจะเต้นเร็วมากขึ้น และรู้สึกกระสับกระส่าย นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดความรู้สึกร้อนวูบวาบตามมาได้
5.เป็นโรคประจำตัวที่เป็น ปัญหาด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนและระบบต่อมไร้ท่อ สามารถนำไปสู่การเกิดอาการที่คล้ายกับคนที่อยู่ในช่วงวัยทองได้ นอกจากนี้การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด หรือเชื้อไวรัสบางชนิด ก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกร้อนวูบวาบได้เช่นกัน
6.นอนในห้องที่ร้อนเกินไป อุณหภูมิของร่างกายจะเกิดการผันผวนตลอดช่วงกลางคืน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงและผู้ชายจะตื่นขึ้นมากลางดึกพร้อมกับความรู้สึกร้อน หรือเหงื่อออกตามร่างกาย
อาการวัยทองเป็นอาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับทุกคน ถึงแม้ว่าไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่ก็อาจจะส่งผลให้รบกวนต่อคุณภาพชีวิตได้ ถ้าหากมีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยทองที่ดี ก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและทำงานได้มีประสิทธิภาพเหมือนเดิม การดูแลสุขภาพตัวเองนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเจ็บไข้ได้ป่วยหรือ ต้องอายุมากก่อน ถึงจะดูแลตัวเองได้ เพราะสุขภาพดีเกิดขึ้นจากการดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอและต้องใช้ระยะเวลาในการบำรุง
ยกตัวอย่างอาหารที่เหมาะกับคนวัยทอง เช่น ถั่วเหลืองเนื่องจากถั่วเหลืองเป็นพืชที่มีสารไอโซฟลาโวน เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำหน้าที่เป็นไฟโตเอสโตรเจน คือ ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง สามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก ลดความรุนแรงของโรคกระดูกพรุน และสามารถลดอาการร้อนวูบวาบที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือนได้ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งยังช่วยลดอัตราการเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งลำไส้ นอกจากนี้ยังมีสารอาหารต่าง ๆมากมาย โดยเฉพาะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง บำรุงกำลังได้เป็นอย่างดี
เลขทะเบียนยา : G 357/45
ชื่อผลิตภัณฑ์ : ฟลาวาซอย แคปซูล
ส่วนประกอบ : ใน 1 แคปซูล ประกอบด้วยสารสกัดของถั่วเหลือง ซึ่งมี isoflavonesไม่ต่ำกว่า 25 มก.
สรรพคุณ : ช่วยบรรเทาอาการอันเนื่องมาจากภาวการณ์หมดประจำเดือน
วิธีใช้ : รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง หรือตามคำแนะนำของแพทย์
การเก็บรักษา : เก็บในที่เย็นและแห้ง
ขนาดบรรจุ : 60 แคปซูล/ขวด
อ้างอิง
1. หนังสือวัยทองในมุมมองใหม่ โดยมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.)
2. เช็คอาการเข้าสู่วัยทอง.โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาการุณย์
3. เดชา ศิริภัทร.ต้นไม้ใบหญ้า.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 222